
บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อประสบความสำเร็จในด้านหนึ่งด้านใดหรือในหลายๆด้านก็ตามโดยไม่
ต้องได้รับการฝึกฝนหรือฝึกฝนน้อยกว่าบุคคลอื่นๆ เรียกได้ว่ามีพรสวรรค์ในด้านนั้นๆจนเป็นที่ยอมรับ
แต่ก็อาจจะมีอีกด้านหนึ่งหรืออีกหลายๆด้านที่บุคคลดังกล่าวล้มเหลวโดยสิ้นเชิงทั้งๆที่พยายาม
ฝึกฝน, เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้บุคคลดังกล่าวล้มเหลวนั้น
เรียกว่า “สิ่งที่แพ้ทาง”
สิ่งที่แพ้ทางของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันไปโดยสามารถที่จะแบ่งออกได้หลายอย่าง
ได้แก่
การแพ้ต่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การร้องเพลงที่ฝึกฝนเท่าไรก็ร้องไม่เป็นเพลงสัก
ที, การประกอบอาหารที่ทำแล้วรสชาติไม่อร่อย เป็นต้น
การแพ้ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่เมื่อแข่งขันกันเมื่อไหร่ก็แพ้เสียทุกที ทั้งเรื่องการงาน, ฐานะทางการ
เงิน,สถานภาพทางสังคมและเรื่องส่วนตัว
การแพ้ต่ออารมณ์ความรู้สึก คือ การทนไม่ได้กับอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่เข้ามากระทบกระเทือน
จิตใจ เช่น ความเศร้า, เหงา, รัก เป็นต้น
แต่ละบุคคลเมื่อทราบถึง “สิ่งที่แพ้ทาง” ของตนเองแล้วย่อมต้องหาทางหลบเลี่ยงสิ่งดังกล่าวให้ได้
มากที่สุด เช่น ร้องเพลงไม่เป็นก็ไม่ร้องเพลง, ประกอบอาหารไม่เป็นก็ซื้ออาหารรับประทาน,
พยายามหลบเลี่ยงบุคคลที่แพ้ทางอยู่เสมอ เป็นต้น
นับเป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งแต่ก็เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากในบางสิ่งที่จัดเป็น“สิ่งที่แพ้ทาง”
นั้นไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ตลอดไป ที่พบเห็นได้บ่อยและมีความสลับซับซ้อน ได้แก่ การแพ้ต่อ
อารมณ์ความรู้สึกและการแพ้ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
การแพ้ต่ออารมณ์ความรู้สึก เป็น สิ่งที่ยากที่สุดในการแก้ไข เนื่องจาก ถึงแม้จะพยายามหลบเลี่ยง
ต่ออารมณ์ความรู้สึกดังกล่าว แต่ก็คงต้องมีโอกาสที่อารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวเข้ามากระทบกระเทือน
จิตใจ เพราะบุคคลไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวตลอดเวลา ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆในสังคมจึง
ยากแก่การหลีกเลี่ยง สิ่งที่บุคคลดังกล่าวต้องทำคือการหาตัวช่วยเข้าคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่ง
ได้แก่ บุคคลอื่นๆในสังคมที่มีความสามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องมาทำการช่วย
เหลือ เช่น เหงาเมื่ออยู่คนเดียว ก็ไม่ควรอยู่คนเดียวแต่ควรจะหาเพื่อนที่สนิทสนมรู้ใจมาพบปะพูด
คุย เป็นต้น อีกทางหนึ่งที่สามารถกระทำได้ ได้แก่ การได้รับคำแนะนำ, เรียนรู้, ฝึกฝนจากผู้เชี่ยว
ชาญแล้วนำมาประยุกต์เข้ากับตนเองเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้, ทำงานได้และที่สำคัญ
ไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน ซึ่งที่พบเห็นได้บ่อยๆและเป็นปัญหาสังคม ได้แก่ การแพ้คำว่ารัก เพราะไม่
สามารถชนะใจคนที่เรารักได้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องหลบหนีจากความรักหรือหาคนอื่นมา
ทดแทนคนที่เรารักถ้าเรายังไม่มั่นใจเพียงแต่อยู่กับสิ่งที่เราแพ้ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ การที่เรายังคงมีความ
รักให้กับคนที่เรารักต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องได้มาครอบครอง, ไม่จำเป็นต้องโกรธเกลียดหรือเสียใจ
เมื่อเขาหรือเธอประสบความสำเร็จกับความรัก เมื่ออยู่กับความรักถึงแม้จะเป็นรักที่ไม่สมหวังก็ตามแต่
ก็มีความสุขกับชีวิตประจำวัน, การทำงานได้ก็จะเข้าทำนองว่า “ถึงจะแพ้ก็เหมือนไม่แพ้” เพราะไม่มี
ความแตกต่างในอารมณ์ความรู้สึกและที่สำคัญอาจจะพลิกกลับมาชนะได้ในภายหลังก็จะเข้าทำนอง
ว่า “เหมือนจะแพ้แต่ไม่แพ้” ได้เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้ชนะด้วยตนเองทั้งหมดก็ตาม แต่ตนเองก็
เป็นส่วนสำคัญที่สุดในชัยชนะเหนือกว่าตัวช่วยใดๆ
การแพ้ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ง่ายแค่เพียงไม่คิดแข่งขันกับบุคคลดัง
กล่าว เพียงแค่นี้ก็ไม่มีทางแพ้เพราะในเมื่อไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้นก็ย่อมไม่มีการแพ้ชนะ แต่ก็เป็น
การยากในทางปฏิบัติจริงเพราะยากแก่การหักห้ามใจตัวเองไม่ให้คิดแข่งขันได้
การแพ้ต่อ“สิ่งที่แพ้ทาง” มีความแตกต่างกับการแพ้ในทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่า
“allergy” เพราะการแพ้ (allergy) มีตัวช่วยที่สามารถอธิบายกลไกการแพ้และสามารถหาวิธี
รักษาที่เป็นมาตรฐานได้ เช่น เมื่อทราบว่าแพ้ก็หลบเลี่ยงสิ่งก่อภูมิแพ้และแพทย์ทำการรักษาด้วยยา
แก้แพ้ เป็นต้น แตกต่างกับการแพ้ต่อ“สิ่งที่แพ้ทาง” ที่ถึงแม้จะรู้ว่าแพ้อะไรแต่ก็ไม่มีตัวช่วยหรือวิธี
การที่เป็นมาตรฐานกับทุกบุคคล ต่อให้ปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาก็อาจไม่
ใช่ตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพ
การแพ้ต่อ“สิ่งที่แพ้ทาง” ยังแตกต่างกับการแพ้ในการแข่งขันกีฬา โดยถ้ามีการแข่งขันใน
ครั้งต่อๆไป ก็ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงผลการแข่งขันได้ เข้ากับสุภาษิตว่า “วันพระไม่ได้มีหน
เดียว” เมื่อชนะได้ก็ย่อมต้องแพ้ได้เสมอ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แข่งขันและคณะทำงาน, การ
ฝึกซ้อม, ความมุ่งมั่นและสถานการณ์ในการแข่งขันในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าอยากจะพลิกกลับมาชนะใน
ครั้งต่อๆไปก็ไม่ต้องหลบเลี่ยงคู่ต่อสู้เพียงแต่ทำการแข่งขันก็อาจจะชนะได้
สิ่งที่แพ้ทางเมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใดก็ย่อมต้องเป็นหน้าที่ที่บุคคลนั้นต้องหาทางปรับปรุงแก้ไข
โดยการหาตัวช่วยหรือวิธีการที่เหมาะสมกับตนเองมาทำการแก้ไขสถานการณ์ เพื่อให้ตนเองสามารถ
มีชีวิตส่วนตัวที่มีความสุข, ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในสังคมได้ต่อไป โดยไม่จำเป็น
ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งดังกล่าวเสมอไป แค่เพียงบางครั้งอยู่กับสิ่งนั้นอย่างยอมรับและเข้าใจก็เพียงพอ